Special Tips

กฎหมายเกี่ยวกับการขับรถบนถนนที่ต้องรู้

บ่อยครั้งที่เรามักทำผิดกฎจราจรแบบไม่รู้ตัว เนื่องจากการละเลยกฎหมายและข้อห้ามสำคัญในการใช้รถบนท้องถนน ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและโดนตำรวจจับปรับ เรามาดูกันว่าพฤติกรรมอะไรบ้างที่เรามักเผลอทำผิดกันบ่อยๆ

– การขับรถไม่ปฏิบัติตามไฟเหลือง ซึ่งเมื่อขับรถมาแล้วพบสัญญาณไฟจราจรสีเหลือง หมายความว่า ผู้ที่ขับขี่มีหน้าที่ตามมาตราที่ 22 ที่จะต้องเตรียมหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด ยกเว้นว่าเมื่อได้ขับรถเลยเส้นหยุดรถไปแล้ว มิฉะนั้นก็จะมีความผิดและมีโทษปรับโดยระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

– การไม่ปฏิบัติตามสัญญาณไฟเขียว คือ เมื่อมีสัญญาณไฟเขียวแล้วไม่ออกรถก็มีอัตราระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

– ขับรถฝ่าไฟแดง เรื่องอันตรายที่เรามักพบเห็นกันบ่อยๆ มีอัตราระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท

– ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมายได้จำกัดความเร็วของรถในเมืองจะต้องไม่เกิน 80 กม./ชม. นอกเมืองไม่เกิน 90 กม./ชม. ทางด่วนไม่เกิน 110 กม./ชม. มอเตอร์เวย์ไม่เกิน 120 กม./ชม. ซึ่งถ้าหากขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดก็จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท

– ขับรถแช่ขวา ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้ากว่ารถคันอื่นที่ขับไปในทิศทางเดียวกัน จะต้องขับต้องหลบ ซ้ายให้รถที่ขับเร็วกว่าแซงขึ้นไปได้ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 35 ซึ่งหากฝ่าฝืนก็อาจมีโทษขับขี่ในลักษณะ กีดขวางการจราจร อาจโดนโทษปรับ 400 บาท

– ขับรถไม่เปิดไฟหน้าในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ อาจโดนโทษปรับ ไม่เกิน 500 บาท

– เปิดไฟตัดหมอกโดยไม่จำเป็น การเปิดไฟ ตัดหมอกโดยไม่มีความจำเป็นอาจทำให้รถที่สวนมาไม่สามารถมองทางได้ชัดเจน จึงได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จึงได้ระบุว่าการใช้ไฟตัดหมอก สามารถจะใช้ได้ต่อเมื่อรถวิ่งอยู่ในภาวะที่มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรคอันอาจเกิดอันตราย ในขณะขับรถและต้องไม่มีรถอยู่ด้านหน้าสวนมาในระยะ 150 เมตร โดยหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

– ขับรถบนทางเท้า มีอัตราโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท

– ผู้ขับขี่รถยนต์และผู้โดยสารรถยนต์จะต้องใช้เข็มขัดนิรภัยรัดร่างกายไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และโดยสารรถยนต์ หากฝ่าฝืนมีอัตราระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

– บรรทุกคนท้ายกระบะหรือแคปกระบะ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 20 ระบุว่า ผู้ขับขี่ ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน หากฝ่าฝืนต้อง ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

– ขับรถช้าแต่อยู่เลนขวาพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 35 ระบุว่า รถที่มีความเร็วช้าหรือ รถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถ ด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท

– ไม่ยอมให้รถที่ใช้ความเร็วสูงกว่าผ่านขึ้นหน้าเมื่อได้รับสัญญาณขอแซงโดยไม่ให้สัญญาณตอบ เมื่อทางด้านหน้าปลอดภัยและไม่มีรถอื่นสวนทางมาในระยะกระชั้นชิดและไม่ลดความเร็วและขับรถชิด ด้านซ้าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

– ไม่หยุดทางม้าลาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ระบุว่า ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติให้ ถูกต้องตามสัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ หรือทำให้ปรากฏในทาง หรือที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ แสดงให้ทราบ สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจรและความหมายของสัญญาณจราจร และ เครื่องหมายจราจร หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

– ขับรถคร่อมเลน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (6) ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ หากฝ่าฝืนต้อง ระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท

– ใช้โทรศัพท์มือถือ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (9) 9 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับ รถในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท

– ฝ่าฝืนสัญญาณมือ หากมีเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณการจราจรด้วยมือ และหรือเรียกให้คุณหยุดหรือจอด ด้วยสัญญาณ มือ ปรากฏว่าคุณไม่จอด หรือฝ่าสัญญาณนั้นไปหากเจ้าหน้าที่ตามจับคุณได้ภายหลัง อาจจะโดน ข้อหา “ไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรมือที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏข้างหน้า” ระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

– ไฟท้ายขาดหรือไม่ชัด โดยเมื่อเวลาเราหยุดรถ สัญญาณไฟเบรกสีแดง จะต้องติดเพื่อส่งสัญญาณ ให้กับผู้ร่วมทางที่ตามมาด้านหลัง แต่ถ้าหากรถคุณเกิดไฟท้ายขาดหรือให้สัญญาณไม่ชัดเจนเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น มาแล้วพบว่ารถคันหน้าไม่มีสัญญาณไฟเบรก หรือมีไม่ชัดเจน โดยข้อห้านี้ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท และอาจมีผลในการต่อสู่ทางคดีความได้อีกด้วย

– การขับแซงขวาโดยไม่มีระยะห่างจากคันหน้าพอควร ซึ่งในมาตรา 44 วรรค วรรค 2 การแซงรถต้อง แซงด้านขวาแต่ว่าต้องมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควร และเมื่อผ่านรถที่ถูกแซงแล้วจึงจะขับชิดเข้าซ้าย ด้านหน้าของรถที่ถูกแซงได้ ซึ่งหากแซงรถแล้วเข้าในเลนซ้ายในระยะกระชั้นชิดของรถที่แซงมา ซึ่งอาจ ก่อให้เกิดอันตรายได้ หากเจ้าหน้าที่พบการกระท าซึ่งหน้า อาจเจอระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

Most Popular

To Top