ปีนี้นับเป็นปีที่น่าจับตามองอีกปีหนึ่ง สำหรับตลาดรถยนต์ที่ทดสอบว่าจะสามารถรักษาระดับยอดขายที่ดีจากปีที่ ผ่านมาได้หรือไม่ ซึ่งการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ และกิจกรรมส่งเสริมการขายจากค่ายรถยนต์ มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์ในประเทศ โดยยอดขายรถยนต์ในครึ่งปีแรกของปี 2562 มียอดขายอยู่ที่ 523,770 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 7.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2562 |
ปริมาณการขายรวม | 523,770 คัน | เพิ่มขึ้น 7.1 % |
รถยนต์นั่ง | 206,540 คัน | เพิ่มขึ้น 8.5 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 317,230 คัน | เพิ่มขึ้น 6.2 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 258,375 คัน | เพิ่มขึ้น 8.8 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 225,508 คัน | เพิ่มขึ้น 8.7 % |
แนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2562 มร.ซึงาตะ คาดการณ์ว่า “ตลาดรถยนต์รวมในครึ่งปีแรกเติบโตมากกว่าที่เคยคาดไว้
สืบเนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาปรับลดลงในรอบ 30 เดือน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีผ่านมา ซึ่งคาดว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน อาจส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ในครึ่งปีหลัง ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์รวมในประเทศจะเติบโตอยู่ในระดับ 1 ล้านคัน เช่นเดียวกับที่เราคาดการไว้ตั้งแต่ต้นปี และยังถือได้ว่าเป็นปีที่มียอดขายแตะระดับล้านคันเป็นปีที่สองติดต่อกัน
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2562 |
ปริมาณการขายรวม | 1,000,000 คัน | ลดลง 4.0 % |
รถยนต์นั่ง | 387,229 คัน | ลดลง 3.1 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 612,769 คัน | ลดลง 4.6 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 496,088 คัน | ลดลง 3.0 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 432,898 คัน | ลดลง 3.2 % |
สำหรับยอดขายโตโยต้าในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 171,502 คัน เพิ่มขึ้น 20.8% ครองส่วนแบ่งการตลาด 32.7% ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการตอบรับที่ดีของลูกค้า จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปีนี้ อาทิเช่น The All-New Camry ซึ่งมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมยานยนต์ใหม่ TNGA และเครื่องยนต์ Dynamic Force ที่ให้ประสิทธิภาพการขับขี่สูงสุด Hilux Revo Z Edition ที่โดดเด่น เร้าใจ ด้วยกันชนและกระจังหน้าดีไซน์ใหม่ รวมไปถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายของ Yaris และ ATIV
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ครึ่งแรกของปี 2562 |
ปริมาณการขายโตโยต้า | 171,502 คัน | เพิ่มขึ้น 20.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 32.7 % |
รถยนต์นั่ง | 60,350 คัน | เพิ่มขึ้น 12.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 29.2 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 111,152 คัน | เพิ่มขึ้น 25.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 35.0 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 99,206 คัน | เพิ่มขึ้น 29.2 % | ส่วนแบ่งตลาด 38.4 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 84,806 คัน | เพิ่มขึ้น 32.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 37.6 % |
นอกจากนี้ “The All-New Commuter” ที่เราได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา สามารถตอบโจทย์ลูกค้า
ได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องความปลอดภัยที่เหนือระดับและความสบายที่เหนือชั้นสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เรามีความภูมิใจและอยากขอบคุณลูกค้าที่ไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ของเรา โดยมียอดจองมากกว่า 2,000 คัน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่เราได้คาดการณ์ไว้ และสำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปีนี้ เรายังยืนยันส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 33% ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่ต้นปี ด้วยยอดขายที่ 330,000 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เราจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น และมุ่งมั่นในการสร้างยนตรกรรมที่ดียิ่งกว่า (Ever-Better Cars) เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีให้กับลูกค้าของเราตลอดทั้งปี
และสำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปีนี้ เรายังยืนยันส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 33% ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่ต้นปี ด้วยยอดขายที่ 330,000 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เราจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น และมุ่งมั่นในการสร้างยนตรกรรมที่ดียิ่งกว่า (Ever-Better Cars) เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีให้กับลูกค้าของเราตลอดทั้งปี สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 138,538 คัน ลดลง 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในส่วนของเป้าหมายการส่งออกในปี 2562 นั้น เราคาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกของโตโยต้ายังคงอยู่ที่ 270,000 คัน ลดลง 8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความต้องการที่ลดลงในภูมิภาคอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และโอเชียเนีย นอกจากนี้ในด้านการผลิตของโตโยต้านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เราจึงยังคงยึดเป้าหมายเดิมในการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออกอยู่ที่ 577,000 คัน ลดลง 2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2562 |
ปริมาณการขายรวม | 330,000 คัน | เพิ่มขึ้น 4.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 33.0 % |
รถยนต์นั่ง | 115,950 คัน | เพิ่มขึ้น 3.2 % | ส่วนแบ่งตลาด 29.9 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 214,050 คัน | เพิ่มขึ้น 5.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 34.9 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 189,730 คัน | เพิ่มขึ้น 7.2 % | ส่วนแบ่งตลาด 38.2 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 161,920 คัน | เพิ่มขึ้น 7.3 % | ส่วนแบ่งตลาด 37.4 % |
นอกจากเป้าหมายทางด้านธุรกิจ โตโยต้ายังมีอีกหนึ่งเป้าหมายที่ท้าทาย นั่นคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อน (Mobility Company) ซึ่งเป็นการให้บริการทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง สำหรับโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” คือการเดินทางระยะสั้นจากต้นทางสู่ปลายทาง(first and last mile mobility) ซึ่งเราได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากนิสิต อาจารย์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ และเรากำลังร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพันธมิตรเพื่อศึกษาการปรับปรุงการขับขี่ปลอดภัยและการประหยัดพลังงาน (Safety & Eco-Driving Improvement) และการเคลื่อนย้ายรถด้วยระบบขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Vehicle Relocation) ควบคู่ไปกับแผนการขยายบริการไปยังพื้นที่รอบนอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งโครงการดังกล่าวถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการขับเคลื่อนที่ดียิ่งกว่า (Ever-Better Mobility)
ประมาณการปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2562 1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 86,048 คัน ลดลง 2.1% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 28,925 คัน | เพิ่มขึ้น 4.0 % | ส่วนแบ่งตลาด 33.6 % |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 13,215 คัน | เพิ่มขึ้น 2.1 % | ส่วนแบ่งตลาด 15.4 % |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 12,142 คัน | เพิ่มขึ้น 15.1 % | ส่วนแบ่งตลาด 14.1 % |
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 35,409 คัน ลดลง 4.6% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 9,732 คัน | ลดลง 5.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 27.5 % |
อันดับที่ 2 ฮอนด้า | 9,150 คัน | เพิ่มขึ้น 6.5 % | ส่วนแบ่งตลาด 25.8 % |
อันดับที่ 3 มาสด้า | 4,055 คัน | ลดลง 23.3 % | ส่วนแบ่งตลาด 11.5 % |
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 50,639 คัน ลดลง 0.2% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 19,193 คัน | เพิ่มขึ้น 9.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 37.9 % |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 13,215 คัน | เพิ่มขึ้น 2.1 % | ส่วนแบ่งตลาด 26.1 % |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 3,885 คัน | ลดลง 14.5 % | ส่วนแบ่งตลาด 7.7 % |
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 40,335 คัน เพิ่มขึ้น 0.3% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 17,229 คัน | เพิ่มขึ้น 15.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 42.7 % |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 11,853 คัน | ลดลง 0.1 % | ส่วนแบ่งตลาด 29.4 % |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 3,885 คัน | ลดลง 14.5 % | ส่วนแบ่งตลาด 9.6 % |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,906 คัน
โตโยต้า 2,386 คัน – มิตซูบิชิ 1,148 คัน – อีซูซุ 735 คัน – ฟอร์ด 389 คัน – เชฟโรเลต 189 คัน– นิสสัน 59 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 35,429 คัน ลดลง 0.7% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 14,843 คัน | เพิ่มขึ้น 15.2 % | ส่วนแบ่งตลาด 41.9 % |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 11,118 คัน | เพิ่มขึ้น 1.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 31.4 % |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 3,115 คัน | ลดลง 30.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 8.8 % |
ประมาณการสถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2562 |
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 523,770 คัน เพิ่มขึ้น 7.1% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 171,502 คัน | เพิ่มขึ้น 20.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 32.7 % |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 89,177 คัน | เพิ่มขึ้น 3.3 % | ส่วนแบ่งตลาด 17.0 % |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 64,699 คัน | เพิ่มขึ้น 8.1 % | ส่วนแบ่งตลาด 12.4 % |
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 206,540 คัน เพิ่มขึ้น 8.5% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 60,350 คัน | เพิ่มขึ้น 12.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 29.2 % |
อันดับที่ 2 ฮอนด้า | 48,889 คัน | เพิ่มขึ้น 5.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 23.7 % |
อันดับที่ 3 มาสด้า | 25,826 คัน | เพิ่มขึ้น 5.9 % | ส่วนแบ่งตลาด 12.5 % |
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 317,230 คัน เพิ่มขึ้น 6.2% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 111,152 คัน | เพิ่มขึ้น 25.6 % | ส่วนแบ่งตลาด 35.0 % |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 89,177 คัน | เพิ่มขึ้น 3.3 % | ส่วนแบ่งตลาด 28.1 % |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 26,883 คัน | ลดลง 17.5 % | ส่วนแบ่งตลาด 8.5 % |
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 258,375 คัน เพิ่มขึ้น 8.8% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 99,206 คัน | เพิ่มขึ้น 29.2 % | ส่วนแบ่งตลาด 38.4 % |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 81,964 คัน | เพิ่มขึ้น 3.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 31.7 % |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 26,882 คัน | ลดลง 15.8 % | ส่วนแบ่งตลาด 10.4 % |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 32,867 คัน โตโยต้า 14,400 คัน – มิตซูบิชิ 6,897 คัน – อีซูซุ 5,526 คัน – ฟอร์ด 3,497 คัน – เชฟโรเลต 1,746 คัน –นิสสัน 801 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 225,508 คัน เพิ่มขึ้น 8.7% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 84,806 คัน | เพิ่มขึ้น 32.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 37.6 % |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 76,438 คัน | เพิ่มขึ้น 4.7 % | ส่วนแบ่งตลาด 33.9 % |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 23,385 คัน | ลดลง 15.0 % | ส่วนแบ่งตลาด 10.4 % |