ขับรถเป็น ขับรถเก่ง แต่ถ้าไม่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรเลย อาจจะทำให้ผู้ขับขี่พลาดทำผิดกฎหมายจราจรได้ง่ายๆ จะด้วยความไม่รู้หรือจะด้วยความที่เข้าใจไปเอง ก็ไม่สามารถปฏิเสธความผิดต่อข้อหาที่เจ้าพนักงานจราจรแจ้งกับผู้ขับขี่ได้
อย่างแรกเลยนั้น หลายคนสงสัยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ได้หรือไม่ และใช้อำนาจอะไร
เชื่อว่าหลายๆท่าน ก็คงสงสัยในประเด็นนี้ ในเรื่องของอำนาจเจ้าพนักงานจราจร หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่นั้นเป็นไปตาม มาตรา 140 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถ เจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีทางเลือกที่จะใช้อำนาจได้ 2 ทาง คือ
- ใช้อำนาจว่ากล่าวตักเตือนผู้ขับขี่ (ถอยหลังไปหลายปีก่อน ผูัขับขี่จะพบเห็นกับเหตุการณ์แบบนี้กันบ้าง แต่ ณ ปัจจุบันดูจะไม่ค่อยมีให้พบเห็นกันมากเท่าไหร่นัก)
- ใช้อำนาจออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ (อันนี้จะพบเห็นบ่อยมาก)
ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกใช้อำนาจออกใบสั่งแล้ว เจ้าหน้าที่ต้องใช้แบบใบสั่งของเจ้าพนักงานจราจรออกให้แก่ผู้ขับขี่ ซึ่่งหากไม่พบตัวผู้กระทำผิด เช่น จอดรถทิ้งไว้ในที่ห้ามจอด ก็จะออกใบสั่งโดยติดหรือผูกไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย ซึ่งมักใช้วิธีเสียบไว้กับก้านปัดน้ำฝน
กรณีออกใบสั่งต่อหน้าผู้ขับขี่ เจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ กล่าวคือ จะเรียกเก็บหรือไม่เรียกเก็บก็ได้ เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เมื่อเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่แล้ว เจ้าหน้าที่จะออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้ผู้ขับขี่ถือไว้แทนเพื่อใช้ในการขับรถต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่นั้นไปส่งมอบให้แก่พนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุภายในกำหนด 8 ชั่วโมงนับแต่เวลาออกใบสั่ง ดังนั้นเจ้าหน้าที่จะมีอำนาจเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ก็ต่อเมื่อได้มีการออกใบสั่งให้แก่ผู้ขับขี่ก่อน ถ้าไม่มีใบสั่งก็ไม่มีอำนาจเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่แต่อย่างใด
บางท่านพออ่านผ่านๆ ไม่เก็บรายละเอียด ก็จะเข้าใจว่า งั้นเราก็มีสิทธิไม่ให้ใบอนุญาตขับขี่กับเจ้าหน้าที่ได้สิ นี่แหละครับเรื่องใหญ่ หากอ่านไม่ละเอียดแล้วฝ่าฝืนไม่ยอมส่งใบอนุญาตขับขี่ของตนเองกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ออกใบสั่ง จะมีความผิดนะครับ ฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับผู้ขับขี่ที่ได้รับใบสั่งจากเจ้าหน้าที่มาแล้วนั้น สามารถขับรถได้โดยใช้ใบสั่งนั้นแทนใบขับขี่ แต่เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 7 วันนะครับ หากเกินระยะเวลา 7 วันโดยไม่มีเหตุอันควร ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ไปชำระค่าปรับตามใบสั่ง มีความผิดอีกข้อหาหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบก)
ทริคดีๆทริคดีๆมีที่นี้ค่ะ>> ชอบรถกับท่องเที่ยวอย่าลืมกด subscribe >> https://www.youtube.com/user/1000milestv/videosChairat Paisantanajit Napat Paisantanajit Mymint Rongthong
Posted by AutoVariety on Sunday, 12 May 2019