บ่อยครั้งที่เราเห็นคนบนท้องถนนขับรถแล้วใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงการดูภาพเคลื่อนไหวผ่านมือถือหรือหน้าจอเครื่องเสียงที่สามารถแสดงภาพได้ หรือแม้กระทั่งการกินอาหารบนรถในเวลาขับ นั่นเป็นการทำให้ประสาทสั่งการลดลงซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
การวิจัยทางจิตวิทยา ได้พิสูจน์แล้วว่าสมองไม่ได้สร้างประสาทเชื่อมโยงเพื่อการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะขับรถ เมื่อสมองได้รับการโหลดข้อมูลให้ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันมากเกินไป จะส่งผลให้การทำงานแต่ละอย่างช้าลงไปด้วย
เมื่อผู้ขับไม่มีสมาธิจดจ่อ หรือมีเรื่องมากมายให้ต้องคิด กลับก่อให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงได้ จากสถิติองค์การอนามัยโลก ในทุกปี มีผู้คนมากกว่า 1.25 ล้านคนต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังพบว่า 94% ของอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความผิดพลาดของผู้ขับ
ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุปัจจัยหลัก 4 ประการ ที่ทำให้ผู้ขับเสียสมาธิ ส่งผลให้สมองถูกเบี่ยงเบนความสนใจออกจากท้องถนน และมักนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรง ดังนี้:
- 1.การมองเห็น : สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้ขับขี่ต้องละสายตาจากท้องถนน เช่น ดูโทรศัพท์ หรือแต่งหน้า
- 2.การได้ยิน : เสียงที่ดังเกินไป อาทิ การคุยโทรศัพท์หรือฟังเพลง เหล่านี้อาจทำให้ผู้ขับไม่ได้ยินเสียงการจราจรอื่นๆ เช่น สัญญาณ รถฉุกเฉิน
- 3.การลงมือทำสิ่งอื่น : สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้ขับขี่ต้องละมือใดมือหนึ่งออกจากพวงมาลัย เช่น การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม
- 4.สติในการรับรู้ : สมาธิที่ลดลงอันเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเหนื่อยล้า การทานยารักษาโรค หรือสิ่งไขว้เขวอื่นๆ ในชีวิต ประจำวัน
การสำรวจระบุว่า 54% ของผู้ขับขี่พยายามจะไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถที่จะหยุดไม่ใช้โทรศัพท์ได้ และอีก 59% ของผู้ขับขี่ยังใช้โทรศัพท์ขณะรถติด หรือเมื่อติดสัญญาณไฟ แม้ทราบดีว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ในขณะขับขี่ เมื่อสมองของคุณต้องใช้พลังงานการรับรู้ 85% สมองของคุณจะไม่มีความสามารถในการทำสิ่งอื่นได้แล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นคนนักขับมืออาชีพหรือเพิ่งหัดขับรถก็ตาม ถ้ามีการดึงประสาทสมองไปใช้งานในด้านอื่นด้สยก็มีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุมากก่วาปกติ