นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน ในการหาที่จอดรถในสถานที่ต่างๆ ซึ่งบางครั้งเราเห็นว่าไม่มีอะไรน่าจะจอดได้ แต่ทำไมโดนตำรวจจับปรับ เพื่อคลายข้อสงสัยและป้องกันกี่โดนปรับแบบไม่รู้ตัว เรามาดูกันว่าการจอดรถในที่ห้ามจอดนั้นมีสถานที่ไหนบ้าง
ในเรื่องการจอดรถตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ระบุไว้ว่า….
– จอดรถในช่องทางเดินรถ หมายถึงจอดบนเลนรถวิ่งไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถบนทางเท้า ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถในทางร่วมทางแยก ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ยกเว้นว่าต้องหยุดจอดเมื่อมีสิ่งกีดขวางอยู่ในทางเดินรถ ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถในระยะ 15 เมตร จากทางรถไฟผ่าน ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง สองข้าง ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท (เขตปลอดภัย หมายถึง พื้นที่ในทางเดินรถให้สำหรับคนเดินเท้าที่ ข้ามทางหยุดรอหรือให้คนขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป)
– จอดรถในที่คับขัน (ที่คับขัน หมายถึง ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวาง หรือในที่ซึ่ง มองเห็นหรือทราบได้ล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย) ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจ าทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถใกล้ตู้ไปรษณีย์ใน ระยะ 3 เมตร เรียกว่าข้อห า “จอดรถใน ระยะตู้ไปรษณีย์” ซึ่งมีการก าหนดไว้ในมาตรา 57 หากไม่เว้นระยะห่างดังกล่าวอาจจะเจอเจ้าหน้าที่บังคับโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามข้อหาดังกล่าว
– จอดรถในระยะ 3 เมตรจากท่อหัวน้ำดับเพลิง ซึ่งจะต้องเว้นระยะจอดดังกล่าวเพื่อไม่ให้เจอระวาง โทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
– รถเสียแล้วจอดกีดขวาง โดยทำให้การจราจรติดขัด ซึ่งอาจจะนึกว่าไม่มีกฎหมายในการก าหนดโทษ แต่ความจริงแล้ว กฎหมายการจราจรทางบกในมาตรา 56 ระบุว่า ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องน ารถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด และต้องแสดง เครื่องหมายหรือสัญญาณว่ารถจอดเสียหรือขัดข้องอยู่ หากฝ่าฝืนอาจต้องเจอระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
นอกจากนี้การจอดรถในที่ห้ามจอดหรือจอดกีดขวางการจราจร ก็ได้มีการออกมาตรการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ซึ่งเป็นคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 ระบุไว้ว่า “เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการเคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือ จอดในที่ห้ามจอดหรือกีดขวางการจราจร สามารถที่จะใช้เครื่องมือในการเคลื่อนย้ายรถดังกล่าวได้โดยไม่ต้อง รับผิดชอบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้หากเป็นการกระทำไม่ได้มาจากการประมาทเลินเล่อ อีกทั้งเจ้าของ รถหรือผู้ขับขี่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องมือเคลื่อนย้ายรถ ตลอดจนค่าดูแลรักษารถระหว่างที่อยู่ใน ความครอบครองของเจ้าพนักงานจราจร