ครั้งนี้พวกเราทีมงาน Auto Variety ก็มีสาระดี ๆ มาฝากเพื่อนๆกััน เชื่อว่าหลายคนออกรถมาแล้วก็คงอยากจะแต่งรถของตัวเองให้ดูดีดูเท่ขึ้นมา เวลาขับรถไปไหนมาไหนจะได้ดูสะดุดตาจนใคร ๆ ก็จะต้องมอง แต่ก็อย่างที่รู้ ๆ กันว่า รถแต่งก็ย่อมเป็นที่เพ่งเล็งของกฎหมาย เสี่ยงที่จะโดยจับข้อหาดัดแปลงรถ เลยทำให้เจ้าของรถรู้สึกกังวลนั่นเอง วันนี้เลยจะมาไขข้อข้องใจให้กับใครที่อยากจะแต่งรถกัน ว่า แต่งรถอย่างไรให้ไม่โดนจับ
1.ป้ายทะเบียนห้ามต่อเติม มีหลายคนนำป้ายทะเบียนรถของตัวเองไปอัดต่อกรอบใหม่ให้เป็นป้ายแบบยาว เพราะคิดว่า แค่ป้ายทะเบียนคงไม่เป็นไรหรอก จริง ๆแล้วป้ายทะเบียนนั้นเป็นสิ่งที่ห้ามต่อเติม เพราะป้ายทะเบียนนั้นถือว่าเป็นเอกสารทางราชการ ถ้าหากนำไปดัดแปลงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการ มีโทษปรับสูงสุดถึง 2000 บาทเลยนะ
2.กระโปรงหน้าคาร์บอนไฟเบอร์ต้องจ้องเปลียนสี กระโปรงคาร์บอนไฟเบอร์สุดเท่นั้น ถือว่าเป็นไอเท็มที่นักซิ่งคนไหนก็อยากจะมี แต่รู้มั้ยว่าถ้าเราไม่แจ้งจดทะเบียนไว้นั้นก็อาจจะผิดกฏหมายได้ ทางที่ดีคือนำรถเข้าไปแจ้งกับทางขนส่งเพื่อแจ้งเปลี่ยนสีว่าเป็นรถสีทูโทน คราวนี้ก็ไม่ต้องมาคอยระแวงว่าจะโดนจับแล้วล่ะ
3.สติกเกอร์ต้องไม่เกินครึ่งตัวรถ สำหรับกรณีการติดสติ๊กเกอร์ก็จะคล้ายๆกับกรณีของการเปลี่ยนกระโปรงคาร์บอนไฟเบอร์ ที่กฎหมายบังคับว่าสีส่วนอื่น ๆ ต้องไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักของรถที่เราได้ทำการจดทะเบียนไว้ ดังนั้นก็ไม่ควรติดสติ๊กเกอร์มากจนเกินสีรถทั้งหมดเกิน 50 เปอร์เซ็นของตัวรถ
4.เสียงท่อ สำหรับท่อแล้วเราสามารถปรับขนาดท่อใหญ่แค่ไหนก็ได้ มีหม้อพักกี่ใบก็ม่ผิดกฎหมาย เพียงแต่ว่า เสียงของท่อที่ดังจะต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล และจะต้องปล่อยไอเสียทางท้ายรถเท่านั้น ห้ามดัดแปลงหรือยื่นออกมาด้านข้างโดยเด็ดขาด
5.หลอดไฟหลากสี หลอดไฟเป็นอีกหนึ่งจุดที่ผู้ใช้นิยมแต่งกัน ไม่ว่าจะเป็นไฟไอติม (ไฟสีฟ้า) ที่นิยมเอามาแต่งกันเป็นอันดับต้น ๆ ถือว่าเป็นประเภทที่ผิดกฎหมาย เพราะว่าไฟหน้านั้นตามกฎหมายระบุไว้เพียง 2 สีเท่านั้น คือสีเหลืองอ่อน และสีขาวเท่านั้น ฉะนั้นไฟไอติมที่เป็นสีฟ้าจึงผิดกฎหมายไปโดยปริยาย และไฟซีนอน คือ ไฟกำลังส่องสว่างแรงสูง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายอออกมารองรับหลอดไฟประเภทนี้ แต่ว่าติดตั้งแล้วจะต้องผ่านการตรวจสอบของ เครื่องมือทดสอบโคมไฟ รวมถึงหลอดหลากสีต่างๆ ก็ล้วนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ว่าการแต่งไฟแบบนี้มีส่วนผิดกฎหมาย เพราะบดบังการมองเห็นของรถข้างหน้า เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้
6.โหลดต่ำ – ยกสูง ไม่ว่าจะเป็นการโหลดต่ำหรือว่ายกสูงเราสามารถทำได้แต่ว่าจะต้องตรงกับเงื่อนไขที่กฏหมายได้กำหนดเอาไว้ ถ้าเป็นรถโหลดต่ำ ตั้งแต่กึ่งกลางระหว่างไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องอยู่ห่างกันอย่างน้อย 40 เซนติเมตร และรถยกสูง ก็ตั้งแต่กึ่งกลางระหว่างไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 135 เซนติเมตร